ผู้เขียน: รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์
จุดมุ่งหมายของ Christian Fuchs ก็คือการโต้แย้งว่า 1) ผู้ใช้งาน social media (หรือ แรงงานดิจิทัล digital labour) นั้นเป็นแรงงานที่มีผลิตภาพ (productive) หาใช่เป็นแรงงานที่ไร้ผลิตภาพ (unproductive) และ 2) กรอบคิดเรื่องค่าเช่า (rent) ไม่สามารถนำมาทำความเข้าใจเศรษฐกิจการเมืองของ platform โดยเฉพาะ social media ได้
ในส่วนของจุดมุ่งหมายประการแรกนั้น เขาเริ่มต้นด้วยการแจงถึงกรอบคิดเรื่อง productive ของแรงงานที่มีหลายนิยามของคนอย่าง Karl Marx ซึ่งแรงงานที่มีผลิตภาพนั้นเป็นไปได้ทั้ง การทำงานที่ผลิตมูลค่าใช้สอย, แรงงานที่ผลิตทั้งทุนและมูลค่าส่วนเกินที่จะถูกใช้ไปในการสะสม หรือแม้แต่บรรดาแรงงานที่ “มีส่วน” ในการผลิตสร้างมูลค่าส่วนเกินหรือทุน การศึกษาหรือกรอบการมองเรื่องความมีผลิตภาพส่วนมากมักจะละเลยมิติสุดท้ายไปทำให้เกิดข้อจำกัดในการมองถึงเรื่องนี้
ข้อจำกัดนั้นได้ส่งผลให้เกิดการมองว่ามีแต่เพียงแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง (wage labour) หรือแรงงานที่อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์แบบค่าจ้างเท่านั้นที่มีผลิตภาพและเกิดการขูดรีด (exploitation) แรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง (unpaid labour) นั้นไม่ใช่อะไรที่จะถูกขูดรีดได้ Fuchs เรียกกรอบคิดแบบนี้ว่าพวกที่หลงใหลในแรงงานค่าจ้าง (wage-labour fetishism) ทั้ง ๆ ที่หากมองจากกรอบคิดเรื่องการขูดรีดแล้ว ภาพความพยายามของชนชั้นปกครองที่จะดูดฉกฉวยเอาแรงงานส่วนเกินนั้นมีอยู่อย่างตลอดไม่ว่าจะเป็นทาสหรือแรงงานในบ้านก็ตาม
ผู้เขียน: รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์
ในบท Gamic Action, Four Moments ของ Alexander R. Galloway นั้นเขาเริ่มต้นด้วยการชี้ถึงความสนของเขา ที่สนใจสื่อที่ถูกเรียกว่า video game (ในความหมายกว้าง) ซึ่งเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วย อุปกรณ์การคำนวณเชิงอิเล็กทรอนิคหรือจักรกล กับ game ที่แสดงตนผ่าน software ในรูปลักษณ์ของข้อมูลที่จะถูกส่งไปยัง จักรกล ซึ่งตัวจักรกลก็จะทำงานแสดงถึงกฎของเกมเหล่านั้นออกมา ส่วนผู้ใช้งานก็เข้าไปติดต่อสัมพันธ์กับทั้ง software และ hardware ตัวของ Galloway นั้นใช้คำว่า gaming ในฐานะของกลไกทั้งปวงของ video game แง่นี้มันจึงนับรวมทั้งจักรกลและองค์ประกอบเชิงอินทรีย์ด้วย
.
Galloway มองว่า หากภาพถ่ายคือรูปภาพ ภาพยนตร์คือภาพเคลื่อนไหว video game มันก็คือการกระทำ (action) หากขาดไร้ซึ่งการกระทำ สิ่งนี้ย่อมไม่เกิดขึ้น หากขาดองค์ประกอบของผู้ใช้งานและจักรกลไป video game คงเป็นแต่เพียงชุดรหัสทางคอมพิวเตอร์ก็เท่านั้น การจะเข้าใจถึงสิ่งนี้ Galloway มองว่าต้องเข้าใจผ่านการกระทำที่ดำรงอยู่ภายในการเล่นเกม เหมือนกับที่ตัวเขาบอกว่า “video game คือ การกระทำ หากปราศจากการกระทำ เกมก็ยังคงเป็นแต่เพียงแผ่นกระดาษของหนังสือกฎเชิงนามธรรม หากปราศจากการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่นและจักรกลแล้ว วีดีโอเกมก็คงเป็นได้แต่เพียงเลขรหัสเชิงสถิติของคอมพิวเตอร์ วีดีโอเกมจะดำรงอยู่ก็ต่อเมื่อจักรกลนั้นถูกเปิดขึ้น และ software ได้ดำเนินการ พวกมันดำรงตนอยู่ก็ต่อเมื่อได้แสดงออก”
ภายหลังจากวิกฤตการเงินของโลกในปี 2008 นักทฤษฎีสำนัก Post-Autonomism ซึ่งเป็นคนรุ่นหลังจาก Antonio Negri มีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองของ Autonomism ให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะงานเขียนของ Carlo Vercellone ซึ่งเสนอข้อเสนอทางทฤษฎีเกี่ยวกับ “การกลายเป็นค่าเช่าของกำไร” (becoming-rent of profit) ในฐานะที่ “ค่าเช่า” (rent) ได้กลายมาเป็นกลไกของการดึงเอามูลค่าจาก multitude โดยจักรวรรดิในปัจจุบัน ซึ่งเป็นภาคต่อจากการวิเคราะห์วิกฤตของการวัดมูลค่าที่ Negri ทำไว้ใน Marx Beyond Marx: Lessons on the Grundrisse (1991) ซึ่งได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วก่อนหน้านี้
Vercellone เริ่มต้นโดยการโต้แย้งมายาคติของนักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยค่าเช่าที่มองว่า “ค่าเช่าคือมรดกของสังคมก่อนสมัยใหม่ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ก้าวหน้าของการสะสมทุนของระบบทุนนิยม” มายาคติดังกล่าวนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “ในระบบทุนนิยมที่แท้ บริสุทธิ์ และมีประสิทธิภาพต้องเป็นระบบทุนนิยมที่ไม่มีค่าเช่า” โดยในระบบทุนนิยมจะมีรูปแบบการกระจายส่วนแบ่งอยู่หลัก 2 รูปแบบ คือ กำไร (profit) ซึ่งเป็นสิ่งที่นายทุนซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับ และค่าจ้าง (wage) ซึ่งเป็นสิ่งที่แรงงานได้รับเมื่อเขาขายกำลังแรงงานของตนเองให้กับนายทุนในกระบวนการจ้างงาน
ข้อเสนอหลักของ Vercellone ก็คือ ค่าเช่าเป็นกลไกสำคัญของการขูดรีดภายใต้ระบบทุนนิยมแบบจักรวรรดิ โดยเฉพาะในการผลิตและบริโภคสินค้าที่เป็นอวัตถุทั้งหลาย
ผู้เขียน: พรทิพา แปงเพ็ชร นักศึกษาปริญญาโท สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทนำ
ธุรกิจขายตรงเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาแล้วในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยมในยุคที่มีระบบการผลิตแบบสายพานการผลิต (Fordism)[1] ซึ่งเป็นยุคที่แรงงานถูกควบคุมจังหวะการทำงานด้วยเครื่องจักรและควบคุมการใช้ชีวิตด้วยเวลาเข้างานและเลิกงานตามเวลาที่โรงงานกำหนด โดยจะทำการผลิตสินค้าจำนวนมากในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สินค้าที่ถูกผลิตเป็นจำนวนมากจากพื้นที่หนึ่งจึงถูกกระจายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการผลิตสินค้าในแบบเดียวกัน ธุรกิจขายตรงจึงเป็นตัวกลางหนึ่งที่กระจายสินค้าจากแหล่งผลิตไปถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรง ต่อมาหลังปี 1980 เป็นช่วงที่ก้าวเข้าสู่ยุค Post-Fordism ระบบการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงและไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากอิทธิพลของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่ส่งผลให้ธุรกิจขายตรงได้เติบโตและขยายตัวเข้าไปในประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วรวมทั้งประเทศไทยด้วย ธุรกิจขายตรงหลาย ๆ บริษัทได้ขยายตัวมายังประเทศไทยจนเกิดการก่อตั้งสมาคมธุรกิจขายตรงไทยขึ้นในปี 1983 (ดูเพิ่มเติมใน…สมาคมขายตรงไทย[2])
ระบบการผลิตและการจ้างงานของธุรกิจขายตรงที่ได้รับอิทธิพลจากเสรีนิยมใหม่ทำให้สมาชิกหลาย ๆ คนมองว่าธุรกิจขายตรงเป็นความหวังและเป็นทางออกสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษา ไม่ต้องมีประสบการณ์การทำงาน เป็นการทำงานที่ลงทุนน้อย มีความเสี่ยงน้อย และได้ค่าตอบแทนมาก การเข้าสู่การเป็นสมาชิกของธุรกิจขายตรงจะนำพาตัวเองไปสู่การเป็นผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ สมาชิกหลาย ๆ คนจึงพยายามพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสมาชิกบางประเภทก็ทำให้สมาชิกเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ
ผู้เขียน: รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์
เพื่อเป็นการตอบโต้กับข้อวิจารณ์ของ Adam Arvidsson กับ Elanor Colleoni (ดูบทความก่อนหน้านี้) ที่วิจารณ์ต่อข้อเสนอของเขาว่า ทฤษฎีมูลค่าแรงงานแบบ Marxist ไม่อาจปรับใช้กับโลกของอินเทอร์เน็ตและทุนนิยมข่าวสาร และเสนอว่าแท้จริงแล้ว มูลค่า นั้นก่อร่างสร้างตนขึ้นมาจากกฏเชิงอารมณ์ความรู้สึกมากกว่า
Christian Fuchs แย้งว่า ทั้งสองคนนั้นไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง มูลค่า (Value) และ ราคา (price) ที่สิ่งแรกนั้นถูกกำหนดมาจากเวลาที่ใช้ไปในการผผลิต ปริมณฑลของมันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตสิ่งที่จะกลายเป็นสินค้า ส่วนอย่างหลังนั้นมันเกี่ยวข้องกับระดับของเงินตรา มันอยู่ในกระบวนการไหลเวียนของสินค้าในตลาด สินค้าที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นกำไร (profit) ในสายตาของ Fuchs นั้นกระบวนการขูดรีดนั้นเกี่ยวข้องกับการสร้างสินค้านั้นนั้นขึ้นมา หรือกล่าว (อย่างสุดโต่ง) อีกอย่างได้ว่าต่อให้สินค้านั้นไม่มี ราคา ในตลาดแต่ว่ากระบวนการขูดรีดนั้นก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นแล้วการวิจารณ์ของ Arvidsson และ Colleoni ที่วางอยู่บนเรื่องราคาของสินค้าข้อมูลในตลาดโฆษณาจึงเป็นการมองที่ ราคา ไม่ใช่เรื่อง มูลค่า ซึ่ง Fuchs มองว่าพวกเขานั้นสับสนในกรอบคิดทั้งสองตัวนี้ (เพิ่มเติม…)
ผู้เขียน: รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์
งานของ Adam Arvidsson กับ Elanor Colleoni นั้นมุ่งที่จะสนทนากับงานของ Christian Fuchs โดยตรง (ดูเกี่ยวกับข้อเสนอของ Fuchs) โดยเฉพาะในปมปัญหาเรื่องข้อเสนอของ Fuchs ในเรื่องการปรับใช้ทฤษฎีมูลค่าแรงงานแบบ Marxist ที่นำมาอธิบายการขูดรีดมูลคค่าส่วนเกินบน platform จำพวก social media ที่วางอยู่บนเรื่องของเวลา รวมทั้งเรื่องการมอง prosumer ในฐานะแรงงานที่ถูกขูดรีด
ทั้งสองนั้นชี้ถึงข้อบกพร่องในงานของ Fuchs อย่างน้อย 2 ประการ คือ
1) ความเกี่ยวข้องระหว่างมูลค่าที่ถูกผลิตสร้างกับเวลาที่ใช้ไปในการผลิตนั้นอาจจะไม่เกี่ยวข้องกัน มูลค่าที่ถูกสร้างขึ้นใน social media นั้นอาจเป็นเรื่องของอารมณ์ ความผูกพันที่ผู้คนใส่เข้าไปหรือมีต่อเครือข่ายในโลกอินเทอร์เน็ต
2) และการมอง plathform พวกนี้อย่างแยกโดดโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนปัจจัยเชิงการเงินที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับมัน การขายสินค้าตรง ๆ อาจไม่ใช่ประเด็นเดียวที่ต้องคิดคำนึง
ผู้เขียน: พุฒิพงศ์ พจน์จำเนียร
(ที่มา: https://deliriousantidotes.wordpress.com/2015/06/13/fight-back/)
การศึกษาเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน เป็นปัจจัยเสริมให้สามารถยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น แต่ในโลกทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ทำให้การศึกษากลายเป็นเครื่องมือของนายทุนในการกดขี่ขูดรีดเราอยู่เรื่อย ๆ ไป ยิ่งกว่านั้นรัฐก็ได้กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มทุนอีกด้วยในบทความนี้พยายามเสนอให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในกระแสเสรีนิยมใหม่ ว่าการศึกษาในปัจจุบันไม่สามารถทำให้คุณมีชีวิตที่ดีกว่าเก่า คุณไม่สามารถเป็นอายุน้อยร้อยล้าน หรือยิ่งเรียนยิ่งรวยได้ การศึกษาปัจจุบันกลายเป็นเพียงช่องทางและโอกาสที่เพิ่มขึ้นของคนมีเงิน และตอกย้ำความจนของคนจนต่อไป
Maria Mies นักสตรีนิยมมาร์กซิสต์คนสำคัญที่เขียนงานคลาสลิคที่ชื่อว่า Patriarchy and Accumulation on a World Scale: Women in the International Division of Labour[1] ในปี 1986 งานชิ้นนี้มีความสำคัญอย่างมากทั้งในแง่ของการให้ภาพประวัติศาสตร์และในแง่ของการพูดถึงแนวโน้มของผู้หญิงภายใต้ระบบการแบ่งงานกันทำระดับโลก (international division of labour) รวมถึงการให้ความสำคัญกับการล่าอาณานิคมและลัทธิอาณานิคม และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอาณานิคมกับประเทศที่กลายมาเป็นอาณานิคม
Mies พัฒนางานเขียนของเธอต่อจากวิวาทะเรื่องงานในบ้านในทศวรรษก่อนหน้านี้ ข้อเสนอของ Mies ก็คือ การล่าอาณานิคมและความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศโลกที่ 1 และประเทศโลกที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นผ่านการแบ่งงานกันทำระดับโลกคือสาเหตุสำคัญให้ผู้หญิงในประเทศโลกที่ 3 ประสบกับความยากลำบาก
Mies เสนอมโนทัศน์สำคัญ 2 มโนทัศน์ในการทำความเข้าใจปัญหาคือ หนึ่ง การกลายเป็นแม่บ้าน (housewifization) และ สอง ระบอบพ่อเป็นใหญ่ในระบบทุนนิยม (capitalist patriarchy)
ในหนังสือ Commonwealth Michael Hardt และ Antonio Negri[1] เสนอว่า ภายหลังจากทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา การผลิตในระบบทุนนิยมได้พัฒนามาอยู่ในรูปของ “การผลิตแบบชีวะการเมือง” (biopolitical production) ซึ่งเป็นการผลิตและกระบวนการผลิตที่มีเป้าหมายเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและตัวตน (subjectivity) ของมนุษย์เอง ผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมที่มนุษย์มีต่อมนุษย์คนอื่น การผลิตแบบชีวะการเมืองจึงเป็นการผลิตชีวิตและรูปแบบของชีวิต โดยการผลิตชีวิตนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาและในทุกสถานที่ที่มนุษย์ใช้ชีวิต ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเวลาหรือสถานที่ของการทำงานเท่านั้น ต่างจากการผลิตในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมที่เวลาของการผลิตคือเวลาที่แรงงานทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่การผลิตแบบชีวะการเมืองเป็นการผลิตที่ทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (work) กับเวลาและสถานที่ของการใช้ชีวิต (life) ดังนั้น ผลผลิตของการผลิตเช่นนี้จึงอยู่ในรูปของอวัตถุ หรือ immaterial ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (material) ซึ่งแยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ การสร้างชีวิตจึงเป็นการทำงาน และผลผลิตของการทำงานก็คือการสร้างชีวิต
เราจะพบว่า การผลิตแบบชีวะการเมืองซึ่งอยู่ในรูปของการผลิตสร้างชีวิตนั้นปรากฏมาอย่างยาวนานในปริมณฑลการผลิตซ้ำทางสังคมที่ผู้หญิงเป็นพลังการผลิตหลัก ภายหลังจากการเข้าสู่ระบบการผลิตแบบหลังอุตสาหกรรมในทศวรรษ 1970 งานและการทำงานในระบบทุนนิยมก็เปลี่ยนแปลงไป คือ งานมีลักษณะของความเป็นผู้หญิงมากขึ้น (feminization of work) จากเดิมที่กิจกรรมของผู้หญิงไม่ถูกนับว่าเป็น “งาน” กลับถูกนับว่าเป็น “งาน” เพราะกิจกรรมที่ผู้หญิงเคยทำในบ้านกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตในระบบทุนนิยม โดยเฉพาะในภาคบริการ (service sector) ซึ่งส่วนใหญ่จ้างแรงงานของผู้หญิง
ข้อเสนอพื้นฐานว่าด้วยระบบทุนนิยมความรับรู้[1]
Carlo Vercellone
แปลพร้อมขยายความบางส่วนโดยเก่งกิจ กิติเรียงลาภ
เป้าหมายของบทความนี้ก็คือการแนะนำบางแง่มุมของโครงการวิจัยที่ชื่อว่า ระบบทุนนิยมความรับรู้ ประเด็นหลักของโครงการวิจัยวางอยู่บนสมุฎฐานที่ว่า ระบบการผลิตแบบฟอร์ด (Fordism) กำลังเกิดวิกฤต และวิกฤตดังกล่าวได้เผยตัวมันเองในฐานะจุดเปลี่ยนที่สำคัญไปสู่แนวโน้มของการที่ความรู้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม และแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนในสมมติฐานทางทฤษฎีของมาร์กซ์เกี่ยวกับ “ปัญญาสาธารณะ” (General Intellect)
ในที่นี้จะแบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
- จะอธิบายแนวทางหลักของโครงการวิจัยนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เขียนจะประยุกต์เอาวิธีวิทยาแบบมาร์กซิสต์มาช่วยในการอธิบาย ซึ่งจะแตกต่างจากกรอบการวิเคราะห์แบบอื่นๆในระบบทุนนิยมปัจจุบัน
- มุ่งทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงาน ซึ่งนำมาสู่วิกฤตของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม และผลของมันก็นำไปสู่การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยมความรับรู้
- จะเน้นที่การวิเคราะห์ธรรมชาติของความเป็นปฏิปักษ์และความขัดแย้ง (ทั้งอัตวิสัยและภาววิสัย) ที่อยู่ในระบบทุนนิยมความรับรู้